วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พงศาวดารเหนือ

             พงศาวดารเหนือ
พงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงสร้างเมืองพิษณุโลกและทรงสร้างพระ      พุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 15 ค่ำ ปีจอ(ประมาณ พ.ศ. 1907) แล้วปลูกต้นโพธิ์สามต้นไว้ที่หล่อพระพุทธรูปสามองค์นั้นเรียกว่า โพธิ์สามเส้า
สมัยพระเจ้าติโลกราชนั้นได้ มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลกขึ้นที่วัดโพธาราม(วัดเจดีย์เจ็ดยอด)
อาณาจักรล้านนามีภาษาพูดและอักษรเขียนของตนเอง เรียกว่าอักษรธรรมล้านนา(ตั๋วเมือง)หรืออักษรไทยยวน(ไทยโยนก) ศิลปกรรม ล้านนาที่เหลือถึงปัจจุบันมีหลายแห่ง เช่น พระพุทธสิหิงค์ ที่เชียงใหม่ เจดีย์วัดป่าสักที่เชียงราย เจดีย์วัดเจ็ดยอดที่เชียงใหม่ พระธาตุลำปางหลวงที่จังหวัดลำปาง สำหรับที่เมืองเชียงแสนนั้นมีพระพุทธรูปโลหะขนาดใหญ่องค์หนึ่งชื่อพระเจ้าล้านทอง หน้าตัก 4 ศอกปลาย 2 กำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2032 โดยพระยาศรีรัชฎเงินกองเจ้าเมืองเงินยางเชียงแสน และยังมีพระเมาฬี(ยอดผม) ของพระพุทธรูปโลหะขนาดใหญ่มากชิ้นหนึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์เชียงแสน เล่ากันว่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งจมน้ำอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน ปัจจุบันยังสำรวจค้นหาไม่พบ ในพ.ศ. 2088 นั้นได้ เกิดแผ่นดินไหวในเชียงใหม่ จนทำให้ส่วนยอดของเจดีย์หลวงหักลง

กษัตริย์ราชวงศ์มังรายครองอาณาจักรล้านนาสืบต่อกันมาเป็นเวลา 262 ปี จนถึง พ.ศ. 2101 อาณาจักรล้านนาอ่อนแอ ในไม่ช้าก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์แห่งพม่า ต่อมาได้เปลี่ยนสลับมาขึ้นกับอาณาจักรสยามกลับไปกลับมาหลายครั้ง ครั้งสุดท้าย พ.ศ. 2317 เมืองเชียงใหม่ได้ตกเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงรวบรวมเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย และได้มีการพัฒนาบ้านเมืองนี้ในสมัยต่อมาเช่น

                 ในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ รัชสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่) ได้ทรงส่งใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพมหานครว่า มีชาวพม่า ไทลื้อ และ ไทเขิน จากเมืองเชียงตุงประมาณ ๓๐๐ ครอบครัวได้อพยพลงมาอยู่เมืองเชียงแสน และตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การ ปกครองของสยามและล้านนา จึงแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากเมือง ถ้าอยากจะอยู่ ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา ของเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่มีใครยอมออกไป 
                ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ พระเจ้านครเชียงใหม่จึงทรงเกณฑ์กำลัง ๔,๕๐๐ คน จากเมืองต่าง ๆ ยกทัพจากนครเชียงใหม่มาเมืองเชียงราย และ เมืองเชียงแสน ไล่ชนเหล่านั้นออกจากเมืองเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้างจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ได้ทรงให้เจ้าอินต๊ะ ราชโอรสในพระเจ้าบุญมาเมือง พระเจ้าผู้ครนครลำพูนมาเป็นเจ้าเมือง (ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์) องค์แรก และให้พระเจ้าผู้ครองนครลำพูนทรงเกณฑ์ราษฎรจากหลาย ๆ เมือง ประมาณ ๑,๕๐๐ ครอบครัวขึ้นมาตั้งรกราก "ปักซั้งตั้งถิ่น" อยู่ที่เมืองเชียงแสนจจนถึงปัจจุบัน    

             ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ทางราชการได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองไปอยู่ที่ ตำบลกาสา 
เรียกชื่อว่า อำเภอเชียงแสน ส่วนบริเวณเมืองเชียงแสนเดิมถูกยุบลง เป็น กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง ขึ้นกับอำเภอเชียงแสน และ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสน ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ (โดยอำเภอเชียงแสนซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลกาสานั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น