ประวัติอาณาจักรโยนกเชียงแสน
1. อาณาจักรโยนกเชียงแสน ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นแหล่งกำเนิดศิลปะสกุลช่างเชียงแสน
ซึ่งมีลักษณะช่างชั้นสูงสุดสกุลหนึ่งของไทย อาณาจักรนี้สูญเสียอำนาจให้แก่ขอมถึง
2 ครั้ง และล่มสลายไปเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15
2. ตำนานสิงหนวัติ ได้กล่าวถึง
อาณาจักรโยนกเชียงแสนว่า พระเจ้าสิงหนวัติ
ได้อพยพผู้คนเดินทางลงมาจากทางตอนใต้ของจีน และมาสร้างเมืองชื่อ นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร ขึ้นในที่ซึ่งเป็นอำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายปัจจุบันนี้
มีเมืองเชียงแสนเป็นราชธานี ต่อมากลายเป็นอาณาจักรใหญ่รอบคลุมดินแดนกว้างขวาง
ทางทิศตะวันออกตั้งแต่แคว้นตังเกี๋ยของเวียดนามปัจจุบันไปจดแม่น้ำสาละวินเขตรัฐฉานในประเทศพม่าทางเหนือจากบริเวณเมืองหนองแส
มณฑลยูนนานของจีนลงมาถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ถึงสมัย พระเจ้าพังคราช
อาณาจักรโยนกเชียงแสนถูกขอมรุกรานจนต้องอพยพราษฎรไปสร้างเมืองใหม่ที่เวียงสีทอง
ริมฝั่งแม่น้ำแม่สาย ต่อมา เจ้าชายพรหมกุมาร ราชโอรสขับไล่ขอมได้สำเร็จ
จึงเชิญเสด็จพระเจ้าพังคราชกลับไปครองเชียงแสนตามเดิม
ส่วนพระองค์ได้พาผู้คนไปสร้างเมืองไชยปราการทางใต้ของเชียงแสน
เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันขอมกับมาขึ้นไปรุกราน
|
อาณาจักรโยนกเชียงแสน
อาณาจักรโยนกเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16) เป็นอาณาจักรเก่าแก่ของชนชาติไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันคือ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ตั้งถิ่นฐานครังแรกหลังจากที่ชนชาติไทยได้อพยพหนีการรุกรานของจีนลงมา โดยพระเจ้าสิงหนวัติ โอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะ ได้เป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน หรือ โยนกนาคนคร ขึ้น นับเป็นอาณาจักรทีมียิ่งใหญ่และสง่างาม จนถึงสมัยของพระเจ้าพังคราช จึงตกอยู่ภายใต้อารยธรรมและการปกครองของพวก “ลอม” หรือ “ขอมดำ” ซึ่งเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้
ก่อนที่จะมีการก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน ได้เข้ายึดครองโยนกเชียงแสน
ในสมัยของพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เป็นนักรบและมีความกล้าหาญ
ได้ทำการต่อต้านพวกขอม ไม่ยอมส่งส่วย เมื่อขอมยกกองทัพมาปราบปรามก็ได้โจมตีขับไล่กองทัพขอมแตกพ่ายไป และยังได้แผ่อิทธิพลขยายอาณาเขตเข้าไปในดินแดนของขอม ยึดไปถึงเมืองเชลียง และล้านนา ล้านช้าง แล้วอัญเชิญพระเจ้าพรหม
พระราชบิดาให้กลับมาครองเมืองโยนกเชียงแสนเหมือนเดิน แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น
เมืองชัยบุรี ส่วนพระเจ้าพรหมได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ทางใต้ของโยนกเชียงแสน
คือ เมืองชัยปราการ ให้พระเชษฐาคือ เจ้าทุกขิตราช เป็นพระอุปราช ปกครองเมือง นอกจากนั้นยังได้สร้างเมืองอื่นๆ
ขึ้นอีก เช่น ชัยนารายณ์ นครพางคำ
เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าพังคราช พระเจ้าทุกขิตราชก็ได้ขึ้นครองเมืองชัยบุรี
(โยนกเชียงแสน) ส่วนพระเจ้าพรหมและโอรสของพระองค์ได้ครองเมืองชัยปราการในสมัยต่อมา และเป็นระยะเวลาที่พวกขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง เมื่อหมดสมัยของพระเจ้าพรหม เป็นต้นไป
อาณาจักรโยนกเชียงแสนเริ่มเสื่อมอำนาจลง กษัตริย์ล้วนอ่อนแอ หย่อนความสามารถ จนถึง พ.ศ. 1731 พวกมอญก็ได้ยกทัพเข้ายึดครอบครองอาณาจักรขอม
และได้แผ่อำนาจเข้ายึดเมืองโยนกเชียงแสน ซึ่งขณะนั้นมีพระเจ้าชัยศิริ
โอรสของพระเจ้าพรหมเป็นกษัตริย์ปกครอง พระเจ้าชัยศิริไม่สามารถต่อต้านกองทัพมอญได้
จึงพากันเผาเมืองทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นที่พำนัก และเสบียงอาหารแก่พวกมอญ แล้วพากันอพยพลงมาทางใต้
จนมาถึงเมืองร้าง้แห่งหนึ่งในแขวงเมืองกำแพงเพชร ชื่อเมืองแปป
ได้อาศัยอยู่ที่เมืองแปประยะหนึ่ง เห็นว่าชัยภูมิไม่สู้เหมาะเพราะอยู่ใกล้ขอม
จึงได้อพยพลงไปทางใต้จนถึงถึงเมืองนครปฐมจึงได้สร้างเมืองนครปฐมและพำนักอยู่ ณ
ที่นั้น
ส่วนกองทัพมอญ
หลังจากรุกรานเมืองชัยปราการแล้ว ก็ได้ยกล่วงเลยตลอดไปถึงเมืองอื่นๆ
ในแคว้นโยนกเชียงแสน จึงทำให้พระญาติของพระเจ้าชัยศิริซึ่งครองเมืองชัยบุรี ต้องอพยพหลบหนีข้าศึกเช่นกัน
ปรากฏว่าเมืองชัยบุรีนั้นเกิดน้ำท่วม บรรดาเมืองในแคว้นโยนกต่างก็ถูกทำลายลงหมด พวกมอญเห็นว่าหากเข้าไปตั้งอยู่ก็อาจเสียแรง
เสียเวลา และทรัพย์สินเงินทอง เพื่อที่จะสถาปนาขึ้นมาใหม่ พวกมอญจึงยกทัพกลับ
เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสนขาดผู้ปกครองอยู่ระยะหนึ่ง
ในระยะที่ฝ่ายไทยกำลังระส่ำระสายอยู่นี้
เป็นโอกาสให้ขอมซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองละโว้
ถือสิทธิ์เข้าครอบครองแคว้นโยนกเชียงแสน แล้วบังคับให้คนไทยที่ตกค้างอยู่นั้นให้ส่งส่วยแก่ขอม ความเสื่อมสลายของอาณาจักรโยนกเชียงแสนครั้งนี้
ทำให้ชาวไทยต้องอพยพย้ายกันลงมาเป็นสองสายคือ สายของพระเจ้าชัยศิริ อพยพลงมาทางใต้ และได้อาศัยอยู่ชั่วคราวที่เมืองแปป ส่วนสายของพระเจ้าชัยบุรีได้แยกออกไปทางตะวันออกของสุโขทัย
จนมาถึงเมืองนครไทย จึงได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ ณ
เมืองนั้นด้วยเห็นว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะเป็นเมืองใหญ่
และตั้งอยู่สุดเขตของขอมทางเหนือ ผู้คนในเมืองนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย
อย่างไรก็ตามในช่วงแรกที่เข้าไปตั้งเมืองอยู่นั้น ก็ต้องยอมอ่อนน้อมต่อขอม ซึ่งขณะนั้นยังคงเรืองอำนาจอยู่
ในเวลาต่อมาเมื่อคนไทยอพยพลงมาจากน่านเจ้าเป็นจำนวนมาก ทำให้นครไทยมีกำลังผู้คนมากขึ้น ข้างฝ่ายอาณาจักรโยนกเชียงแสนนั้น
เมื่อพระเจ้าชัยศิริทิ้งเมืองลงมาทางใต้ ก็เป็นเหตุให้ดินแดนแถบนั้นว่างผู้ปกครอง
และระยะต่อมาชาวไทยที่ยังคงเหลืออยู่ในอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้รวมตัวกันตั้งเมืองขี้นหลายแห่งตั้งเป็นอิสระแก่กัน บรรดาหัวเองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นนับว่าสำคัญ
มีอยู่สามเมืองด้วยกัน คือ นครเงินยาง อยู่ทางเหนือ นครพะเยา อยู่ตอนกลาง และเมืองหริภุญไชย อยู่ทางใต้ ส่วนเมืองนครไทยนั้นด้วยเหตุที่ว่ามีที่ตั้งอยู่ปลายทางการอพยพ
และอาศัญที่มีราชวงศ์เชื้อสายโยนกอพยพมาอยู่ที่เมืองนี้
จึงเป็นทีนิยมของชาวไทยมากกว่า
เมื่อบรรดาชาวไทยเกิดความคิดที่จะสลัดแอกจากขอมครั้งนี้ บุคคลสำคัญในการนี้คือ พ่อขุนบางกลางท่าว ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง
เจ้าเมืองตราด ได้ร่วมกำลังกัน ยกขึ้นไปโจมตีขอม
จนได้เมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมไว้ได้ เมื่อปี พ.ศ. 1800 การชัยใน ครังนี้นับว่าเป็นนิมิตหมายเบื้องต้นแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทย
และเป็นลางร้ายแห่งความเสื่อมโทรมของขอม เพราะนับแต่นั้นเป็นต้นมาอาณาจักรขอมก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง
จนสิ้นสุดอำนาจไปจากบริเวณนี้
ต่อมาเมืองโยนกเชียงแสน (เมืองชัยบุรี) เกิดน้ำท่วม บรรดาเมืองในแคว้นโยนกเชียงแสนต่างๆ
ก็ถูกทำลายลงหมด พวกมอญเห็นว่าหากจะเข้าไปบูรณะซ่อมแซม ปฎิสังขรเมืองใหม่ จะสิ้นเปลืองเงินทองจำนวนมาก จึงได้พากันยกทัพกลับ เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสน (ชัยบุรี) ขาดกษัตริย์ปกครอง ทำให้อำนาจ และอารยธรรมเริ่มเสื่อมลง ชนชาติไทยในโยนกเชียงแสนจึงได้พากันอพยพลงมาทางตอนใต้
แล้วได้สร้างอาณาจักรใหม่ขึ้นคือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งต่อมาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นอาณาจักร